- ฮิรางานะ (Hiragana)
ประกอบด้วยตัวอักษรทั้งสิ้น 46 ตัว แต่ละตัวจะมีเสียงอ่านในตัวอักษรนั้น เช่น に(ni) ほ(ho) ん(n) ซึ่งเมื่อเขียนต่อกันก็จะได้เป็น にほん(nihon) ซึ่งมีความหมาย คือ ญี่ปุ่น
ในการเรียนภาษาญี่ปุ่น ส่วนใหญ่จะเริ่มจากการแทนตัวอักษรญี่ปุ่นด้วยภาษาอังกฤษ (โรมาจิ) และเมื่อเริ่มคุ้นเคยแล้ว ก็จะเริ่มจำฮิรางานะ คาตาคานะ และคันจิ ต่อไปตามลำดับ - คาตาคานะ (Katakana)
ประกอบด้วยตัวอักษร 46 ตัว เช่นเดียวกับฮิรางานะ และอ่านออกเสียงเหมือนกัน เพียงแต่มีวิธีการเขียนแตกต่างกับฮิรางานะเท่านั้น
คาตาคานะมักจะใช้แทนคำที่ทับศัพท์มากจากภาษาต่างชาติ เช่น テ(te) レ(re) ビ(bi) ซึ่งเมื่อเขียนต่อกันก็จะได้เป็น テレビ(terebi) ซึ่งเป็นการทับศัพท์และย่อให้กระชับจากคำว่าโทรทัศน์ (televison) เป็นต้น - คันจิ (Kanji)
เป็นตัวอักษรจีน ซึ่งญี่ปุ่นได้ดัดแปลงบางส่วนให้กระชับขึ้น มีทั้งสิ้นประมาณ 5,000 ตัว แต่ที่ใช้โดยทั่วไปมีประมาณ 1,800 ตัว แต่ละตัวจะมีความหมายและวิธีอ่านออกเสียงเป็นการเฉพาะ จึงจำเป็นต้องใช้เวลาในการฝึกฝนให้เชี่ยวชาญ ผู้ที่เริ่มศึกษาใหม่อาจจะตั้งเป้าหมายว่าจะจำตัวคันจิเบื้องต้นประมาณ 50-100 ตัว
นอกจากนี้ ยังมีการกำหนดมาตรฐานการเขียนคำอ่านภาษาญี่ปุ่น ด้วยภาษาอังกฤษอีก 1 ชนิด คือ โรมาจิ ดังนี้ - โรมาจิ (Romaji)
เป็นอักษรภาษาอังกฤษที่ใช้แทนการเขียนอ่านด้วยภาษาญี่ปุ่น มีหลักเกณฑ์มาตรฐานที่ชัดเจน จึงมีความสะดวกต่อชาวต่างชาติในการฝึกเรียนภาษาญี่ปุ่นด้วยการเขียนและอ่านด้วยอักษรโรมาจินี้
สำหรับเว็บไซต์นี้จะใช้อักษรโรมาจิ และฮิรางานะ ในการอธิบายเป็นหลัก แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับภาษาญี่ปุ่น อาจจะไม่ทราบวิธีอ่านออกเสียงอักษรโรมาจิ ดั้งนั้น เพื่อเป็นแนวทางคร่าวๆ จึงได้เพิ่มเติมวิธีอ่านอักษรโรมาจิเป็นภาษาไทยในไว้อีก 1 หัวข้อ ดังนี้ - คำอ่านภาษาไทย
เป็นวิธีการอ่านอักษรโรมาจิ เป็นภาษาไทย เพื่อให้ผู้ที่เริ่มศึกษาภาษาญี่ปุ่นมีแนวทางในการฝึกออกเสียง แต่เนื่องจากมีคำญี่ปุ่นบางคำ อาจเทียบเสียงเป็นภาษาไทยไม่ได้ จึงควรหาโอกาสฟังสำเนียงที่ถูกต้อง และฝึกฝนอย่างถูกต้องต่อไป
บล็อกนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชานวัตกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทางการศึกษา
วันอาทิตย์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2559
ภาษาญี่ปุ่นไม่ยากอย่างที่คิด
ตัวอักษรในภาษาญี่ปุ่นมี 3 ชนิด ประกอบด้วย
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น