บล็อกนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชานวัตกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทางการศึกษา
วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2559
วันอาทิตย์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2559
คำศัพท์หมวดผลไม้ในภาษาญี่ปุ่น
1. オレンジ orenji โอะเร็นจิ : ส้ม
2.りんご ringo ริงโงะ : แอปเปิล
3. ぶどう budo บุโด : องุ่น
4. すいか suika ซุยขะ : แตงโม
5. もも momo โมะโมะ : ลูกท้อ
6. かき kaki คะขิ : ลูกพลับ
7. いちご ichigo อิจิโงะ : สตรอเบอร์รี่
8. ストロベリー sutoberii: สุโทะโระเบะรี สตรอเบอร์รี่
9. きいちご kiichigo คิอิจิโงะ : ราสเบอร์รี่
10. パイナップル painappuru ไปนัปปุหรุ : สับปะรด
11. ココナッツ kokonatsu โคะโคะนัททสึ : มะพร้าว
12. マンゴー mango มังโง : มะม่วง
13. メロン meron เมะรง : แตงไทย
14. レモン remon เระมง : เลมอน
15. グアバ kuaba กุอะบะ : ฝรั่ง
16. マンゴスチン mangosuchin มังโงะสุจิน : มังคุด
17. ドリアン dorianโดะเรียง : ทุเรียน
18. バナナ banana บะนะนะ : กล้วย
19. みかん mikan มิคัง : ส้มแมนดาริน
การพูดโทรศัพท์ในภาษาญี่ปุ่น
รูปประโยคที่อาจได้ยินจากพนักงานโรงแรม
Irasshaimase.
ยินดีต้อนรับครับ
Nan-paku nasaimasu ka?
จะพักกี่คืนหรือคะ?
Nan-mei sama desu ka?
มากี่ท่านหรือครับ?
Shinguru to Daburu no dochira ga yoroshii desu ka?
ห้องแบบเตียงเดียว กับ ห้องแบบเตียงใหญ่ จะเลือกแบบไหนหรือคะ?
Daburu no beddo ga yoroshii desu ka?
ต้องการเตียงคู่ไหมครับ?
O-namae o onegaishimasu.
ขอชื่อของคุณด้วยค่ะ
Kurejitto kaado o-mochi desu ka?
มีบัตรเครดิตไหมครับ?
Choushoku tsuki de ip-paku ichi-man en ni narimasu.
ราคา ( ค่าห้อง ) 10,000 เยน ต่อหนึ่งคืน รวมอาหารเช้า ค่ะ
Moushiwake arimasen ga, manshitsu desu.
ต้องขอประทานโทษด้วยนะครับ ตอนนี้ ( ห้อง ) เต็มแล้วครับ
O-heya o yoyakushite irasshaimasu ka?
( คุณ ) ได้จองไว้แล้วหรือยังคะ?
Pasupoto o misete itadakemasu ka?
ขอดูพาสปอร์ต ( ของคุณ ) หน่อยได้ไหมครับ?
O-shiharai wa dono youni nasaimasu ka?
จะชำระเงินแบบไหนหรือคะ?
คำทักทายในภาษาญี่ปุ่น
ลักษณะอักษรทั้ง 3 ชนิด
มีจำนวน 46 ตัวอักษร
a , i , u , e , o จะเป็นสระ เหมือนภาษาอังกฤษ
2.) คะตะคะนะ カタカナ (Katakana)
มีจำนวนตัวอักษร 46 ตัวเท่ากับฮิระงะนะ ไว้ใช้กับศัพท์ที่มาจากต่างประเทศ
3.) คันจิ 漢字 (Kanji)
เป็นตัวอักษรที่คนญี่ปุ่นยืมมาจากจีน ส่วนมากจะเหมือนคำจากภาษาจีนเลย ส่วนที่เหลือญี่ปุ่นก็นำมาดัดแปลงเอง ใช้แสดง คำนาม ,กริยา คนญี่ปุ่นมักจะใช้ คันจิ ผสมกัน ฮิระงะนะ หรือ คะตะคะนะ
คันจิจะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
1. คุงโยมิ [ คันจิ + ฮิระงะนะ ] เป็น เสียงแบบญี่ปุ่น
2. องโยมิ เป็นเสียงอ่านแบบภาษาจีน จะอ่านแบบนี้เมื่อเจอ คันจิ 2 ตัวขึ้นไป
ประเทศญี่ปุ่นมีการบัญญัติให้ใช้ คันจิ ในชีวิตประจำวัน 2000 - 3000 ตัว เรียกว่าคนญี่ปุ่นเองยังจำแทบไม่หมดเลย
ภาษาญี่ปุ่นไม่ยากอย่างที่คิด
- ฮิรางานะ (Hiragana)
ประกอบด้วยตัวอักษรทั้งสิ้น 46 ตัว แต่ละตัวจะมีเสียงอ่านในตัวอักษรนั้น เช่น に(ni) ほ(ho) ん(n) ซึ่งเมื่อเขียนต่อกันก็จะได้เป็น にほん(nihon) ซึ่งมีความหมาย คือ ญี่ปุ่น
ในการเรียนภาษาญี่ปุ่น ส่วนใหญ่จะเริ่มจากการแทนตัวอักษรญี่ปุ่นด้วยภาษาอังกฤษ (โรมาจิ) และเมื่อเริ่มคุ้นเคยแล้ว ก็จะเริ่มจำฮิรางานะ คาตาคานะ และคันจิ ต่อไปตามลำดับ - คาตาคานะ (Katakana)
ประกอบด้วยตัวอักษร 46 ตัว เช่นเดียวกับฮิรางานะ และอ่านออกเสียงเหมือนกัน เพียงแต่มีวิธีการเขียนแตกต่างกับฮิรางานะเท่านั้น
คาตาคานะมักจะใช้แทนคำที่ทับศัพท์มากจากภาษาต่างชาติ เช่น テ(te) レ(re) ビ(bi) ซึ่งเมื่อเขียนต่อกันก็จะได้เป็น テレビ(terebi) ซึ่งเป็นการทับศัพท์และย่อให้กระชับจากคำว่าโทรทัศน์ (televison) เป็นต้น - คันจิ (Kanji)
เป็นตัวอักษรจีน ซึ่งญี่ปุ่นได้ดัดแปลงบางส่วนให้กระชับขึ้น มีทั้งสิ้นประมาณ 5,000 ตัว แต่ที่ใช้โดยทั่วไปมีประมาณ 1,800 ตัว แต่ละตัวจะมีความหมายและวิธีอ่านออกเสียงเป็นการเฉพาะ จึงจำเป็นต้องใช้เวลาในการฝึกฝนให้เชี่ยวชาญ ผู้ที่เริ่มศึกษาใหม่อาจจะตั้งเป้าหมายว่าจะจำตัวคันจิเบื้องต้นประมาณ 50-100 ตัว
นอกจากนี้ ยังมีการกำหนดมาตรฐานการเขียนคำอ่านภาษาญี่ปุ่น ด้วยภาษาอังกฤษอีก 1 ชนิด คือ โรมาจิ ดังนี้ - โรมาจิ (Romaji)
เป็นอักษรภาษาอังกฤษที่ใช้แทนการเขียนอ่านด้วยภาษาญี่ปุ่น มีหลักเกณฑ์มาตรฐานที่ชัดเจน จึงมีความสะดวกต่อชาวต่างชาติในการฝึกเรียนภาษาญี่ปุ่นด้วยการเขียนและอ่านด้วยอักษรโรมาจินี้
สำหรับเว็บไซต์นี้จะใช้อักษรโรมาจิ และฮิรางานะ ในการอธิบายเป็นหลัก แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับภาษาญี่ปุ่น อาจจะไม่ทราบวิธีอ่านออกเสียงอักษรโรมาจิ ดั้งนั้น เพื่อเป็นแนวทางคร่าวๆ จึงได้เพิ่มเติมวิธีอ่านอักษรโรมาจิเป็นภาษาไทยในไว้อีก 1 หัวข้อ ดังนี้ - คำอ่านภาษาไทย
เป็นวิธีการอ่านอักษรโรมาจิ เป็นภาษาไทย เพื่อให้ผู้ที่เริ่มศึกษาภาษาญี่ปุ่นมีแนวทางในการฝึกออกเสียง แต่เนื่องจากมีคำญี่ปุ่นบางคำ อาจเทียบเสียงเป็นภาษาไทยไม่ได้ จึงควรหาโอกาสฟังสำเนียงที่ถูกต้อง และฝึกฝนอย่างถูกต้องต่อไป